Archaeology

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Archaeology

Equivalent terms

Archaeology

Associated terms

Archaeology

2 Archival description results for Archaeology

2 results directly related Exclude narrower terms

โบราณวัตถุสถานสมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทยและการอนุรักษ์

โบราณวัตถุสมัยประวัติศาสตร์ ในประเทศไทยแบ่งกว้าง ๆ เป็น 2 สมัย คือ สมัยก่อนที่ชนชาติไทยจะเข้าปกครองประเทศ และสมัยที่ชนชาติไทยเข้าปกครองประเทศแล้ว สำหรับสมัยแรกแบ่งเป็นศิลปะ 5 แบบย่อย ๆ ได้แก่ 1) โบราณวัตถุรุ่นต้นที่ค้นพบในประเทศไทย (ราวพุทธศตวรรษที่ 6-11) เช่น ตะเกียงโรมันสำริด ซึ่งค้นพบที่ ตำบลพงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 2) ศิลปะทวาราวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16) เช่น ศิลาจารึกภาษามอญรุ่นเก่าราวพุทธศตวรรษที่ 12 ค้นพบในเขตจังหวัดนครปฐม และลพบุรี 3) เทวรูปรุ่นเก่าในประเทศไทย (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-14) เช่น ศิวลึงค์ และเทวรูปพระนารายณ์ ค้นพบทางภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย 4) ศิลปะศรีวิชัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 13-18) เช่น เศษเครื่องถ้วยชามจีนสมัยราชวงศ์ถัง ค้นพบทั้งทางฝั่งทะเลตะวันออกและตะวันตกของประเทศไทย 5) ศิลปะลพบุรี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-19) พบที่ภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ส่วนศิลปะในประเทศไทยเมื่อชนชาติไทยเข้าปกครองแล้ว แบ่งได้เป็น 5 แบบ คือ 6) ศิลปะเชียงแสนหรือล้านนา (ราวพุทธศตวรรษที่ 16 หรือ 18 ถึง พุทธศตวรรษที่ 23) เจริญขึ้นมาทางภาคเหนือของประเทศไทย 7) ศิลปะสุโขทัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 19-20) ถือกันว่าเป็นศิลปะที่งามที่สุดของไทย เช่น พระพุทธรูปสุโขทัย เครื่องสังคโลก 8) ศิลปะอู่ทอง (ราวพุทธศตวรรษที่ 17-20) เช่น พระพุทธรูป พระปรางค์องค์ใหญ่วัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี 9) ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-23) เช่น จิตรกรรมฝาผนัง เครื่องอาภรณ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องลายรดน้ำ 10) ศิลปะรัตนโกสินทร์ (ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 24 จนถึงปัจจุบัน) มีการเลียนแบบศิลปะจีน และศิลปะตะวันตกเป็นศิลปะแบบผสม (eclectic).

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ชำแหละทับหลังฯ อย่าให้ไฟไหม้ฟาง

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์เดิมอยู่ทางทิศตะวันออกของประสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ แต่ตกลงมาที่พื้นและแตกออกเป็นสองซีก หลักฐานรูปแรกสุดได้ถ่ายไว้สมัยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2472 อีก 31 ปีต่อมา นายมานิต วัลลิโภดม จากกรมศิลปากรถ่ายรูปไว้เมื่อ พ.ศ. 2503 ต่อมา กรมศิลปากรจึงได้พิมพ์เป็นหนังสือ หลังจากนั้นทับหลังก็หายไป ซึ่งกรมศิลปากรไปติดตามได้คืนมาชิ้นหนึ่ง ปัจจุบันติดอยู่ที่ปราสาทพนมรุ้งแล้ว เมื่อ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ได้รับเชิญไปบรรยายที่สหรัฐอเมริกา รวมทั้งที่สถาบันชิคาโกด้วยได้พบทับหลังตั้งแสดงอยู่ที่นั่น จึงได้รายงานถึงกรมศิลปากรให้ดำเนินการติดต่อขอคืนในปี พ.ศ. 2519 และเงียบหายไปเป็นเวลากว่า 10 ปี จนกระทั่ง พ.ศ. 2531 จึงมีการติดต่อ และส่งคืนให้ในที่สุด.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล