ศรีสะเกษ

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ศรีสะเกษ

Equivalent terms

ศรีสะเกษ

Associated terms

ศรีสะเกษ

5 Archival description results for ศรีสะเกษ

Only results directly related

ประติมากรรมสัมฤทธิ์พบที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

กรมศิลปากรค้นพบประติมากรรมสัมฤทธิ์ที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2532 ขนาดความสูงเฉพาะองค์ 140 เซนติเมตร รวมความสูงทั้งฐาน 180 เซนติเมตร คงหล่อขึ้นในศิลปะขอมแบบบาปวนตอนปลาย ระหว่าง พ.ศ. 1600-1650
ศาสตราจารย์ บวสเซอลีเย่ เห็นว่าเป็นประติมากรรมซึ่งมีแกนในเป็นดินพร้อมกับแกนในเป็นเหล็ก คงเป็นรูปของทวารบาล และมีลักษณะพิเศษคือ เป็นสัมฤทธิ์ชุบทองและหล่ออย่างดี เดิมคงตั้งอยู่หน้าปราสาทหลังกลาง หรืออาจตั้งอยู่ภายในมุขหน้าปราสาทหลังนั้น หรือตั้งอยู่หน้าปราสาทองค์ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นปราสาทหลังที่สำคัญที่สุด รูปนี้น่าจะเป็นรูปของนันทิเกศวร หรือนันทีเกศวร โดยปกติจะประจำอยู่กับเทวาลัยของพระอิศวร ทั้งนี้ ประติมากรรมนี้มีรอยแตกยาวอยู่บนทั้งประติมากรรมและฐาน ควรค้นหาวิธีหยุดยั้งการเพิ่มขึ้นของรายแตกแยกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่ให้มีสนิมเกิดเพิ่มขึ้น สำหรับการจัดแสดงต้องมีเครื่องยึดภายใต้รักแร้เพื่อป้องกันมิให้ระดับที่ข้อเท้าต้องแตกแยกออก และจัดไว้ในตู้กระจกที่ป้องกันความชื้นได้.

Boisselier, Jean

Thailand : Recent Finds at the Sanctuary of Kampaeng Yai

A bronze image was discovered near the southern gate (gopura) of the galleries around Prasat Kampaeng Yai, (Sanctuary of Kampaeng Yai) on 17 May 1989. The statue, standing 184 cm. high (140 cm. for the body, 10 cm. for the base and 34 cm. for the tenon underneath). The statue represents a standing dvarapala (door-guardian).
Professor Jean Boisselier, a French expert on khmer art thinks this bronze statue represents Nandikesvara or Nandisvara, chief of the gana (attendants of Siva). Because of his loyal services, Siva allowed Nandikesvara to change his primitive appearance, which resembles a monkey, to the likeness of Siva. And even if the statue is not really Nandikesvara, Professor Bossolier still thinks this bronze statue is a door-guardian. The way it was gilded and its excellent execution are invitations to suppose that this statue must have stood in front of the central sanctuary of Prasat Kampaeng Yai, or even inside its porch.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Prasat Kamphaeng Yai in Northeastern Thailand

Prasat Kamphaeng Yai is situated in Amphoe Utumphorn Phisai in the province of Sisaket, northeastern Thailand. It is a Khmer monument. According to one inscription on a doorjamb of an eastern gopara (gate) of the eastern gallery surrounding the monument, it was founded in Hinduism.The inscription is composed of about 35 lines in Khmer language which reports the purchase of pieces of land in 1042 A.D. by Vra Kamraten An Sivadasa and three other dignitaries. These pieces of land were marked and dedicated to the sanctuary of Vrddhesvara (Siva). After listing the names of the slaves dedicated to the sanctuary, the text enumerates the animals and objects given to the former owners, by those who bought the land.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

รายงานการเดินทางไปสำรวจโบราณวัตถุสถานที่จังหวัดปราจีนบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ

การสำรวจโบราณวัตถุสถานที่จังหวัดปราจีนบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์และศรีสะเกษของคณะโบราณคดี ระหว่างวันที่ 21-27 มี.ค. 2513 ได้เยี่ยมชมโบราณวัตถุสถานที่สำคัญได้แก่ ที่อำเภออรัญญประเทศ ชมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่สมาคมพุทธมามกสงเคราะห์ สำรวจซากโบราณสถานเมืองไผ่ ปราสาทเขาน้อย ที่อำเภอตาพญา ชมปราสาททัพเสียม ปราสาทหนองไผ่และประสาทสะล๊อกก๊อก ที่อำเภอวัฒนานคร ชมปราสาทสระหิน เสาประดับกรอบประตูศิลาจากปราสาทบ้านน้อย วัดนครธรรม ปราสาทอุโมงค์ ทับหลังศิลาหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านกรวดและปราสาทใบแขก ที่อำเภอขุนหาร จังหวัดศรีสะเกษ ชมปราสาทตำหนักไทร ทับหลังศิลาที่วัดภูฝ้าย และปราสาทบ้านเยอร์ ที่อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ชมปราสาทภูมิโพน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในศิลปลพบุรี

ภาพสลักพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในศิลปะลพบุรีในประเทศไทย 4 ภาพ ภาพที่ 1 ศิลาทับหลัง ประตูวิหารหลังข้างเหนือที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ เป็นรูปพระนารายณ์บรรทมอยู่เหนือหลังพญาอนันตนาคราช พระองค์ค่อนข้างตั้งตรงขึ้น มีดอกบัวก้านเดียวผุดออกมาจากพระนาภี และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่ข้างบน สลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1550-1600 หรือ พ.ศ. 1600-1650 ภาพที่ 2 ทับหลังศิลา เดิมอยู่ในเทวสถานพระนารายณ์ เมืองนครราชสีมา เป็นรูปพระนารายณ์ 4 กร บรรทมสินธุ์ตะแคงขวา ก้านบัวก้านเดียวผุดออกมาจากพระนาภี และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่ข้างบน สลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1550-1600 หรือ 1600-1650 ภาพที่ 3 ศิลาทับหลังประตูมุขโถง ด้านตะวันออกตอนนอกที่ปราสาทหินพนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เป็นรูปพระนารายณ์ 4 กร บรรทมตะแคงขวาอยู่เหนือหลังมังกร และมีพญานาคหลายเศียรแทรกอยู่ตรงกลาง มีก้านบัวหลายก้านผุดขึ้นจากหลังพระขนงพระนารายณ์ พระพรหมประทับอยู่เหนือบัวบานก้านกลาง คาดว่าสลักขึ้นหลังสมัยปราสาทนครวัดระหว่าง พ.ศ. 1675-1700 ภาพที่ 4 ทับหลัง ณ ปรางค์กู่สวนแตง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ เป็นภาพพระนารายณ์บรรทมตะแคงขวาอยู่เหนือหลังมังกร พญานาคที่แทรกอยู่ตรงกลางหายไป ก้านบัวแบ่งออกเป็นหลายก้านและมีพระพรหมประทับอยู่บนก้านกลาง สลักขึ้นในสมัยหลัง ระหว่าง พ.ศ. 1700-1750.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล