เวียดนาม

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

เวียดนาม

Equivalent terms

เวียดนาม

Associated terms

เวียดนาม

10 Archival description results for เวียดนาม

Only results directly related

The Art of the Ancient Kingdom of Champa Its Originality and Diversity

For those who have visited the Bangkok National Museum, the art, or at least the sculpture, of ancient Champa is not completely unknown. And while this art, which is at times so admirable, yet often so perplexing, is not as well represented in the museum as Javanese art, the six sculptures in the collection which were presented to King Rama VII about seventy years ago, reveal certain tendencies which are the most striking and the most unvarying in Cham art. Dating from the 10th to 12th centuries, these six pieces are almost sufficient in showing how different, both in terms of aesthetics and popular themes, the schools of Cham art are from the rest of Southeast Asia.

บวสเซอลีเย่, ฌอง

ศิลาจารึกโวคาญ

ศิลาจารึกนี้เป็นศิลาจารึกภาษาสันสกฤตที่เก่าที่สุดที่ค้นพบในแหลมอินโดจีนและหมู่เกาะอินโดนีเซีย ค้นพบที่หมู่บ้านโวคาญ เขตเมืองญาตรัง เป็นจารึกที่สลักบนหินแกรนิต สูงกว่า 2.70 เมตร ตัดเป็นเสารูปสี่เหลี่ยมกว้าง 72 เซนติเมตร หนา 67 เซนติเมตร ตัวอักษรที่จารึกมีขนาดใหญ่ความสูงราว 4 เซนติเมตร และคล้ายคลึงกับตัวอักษรบนจารึกของรุทรทามัน (Rudradaman) ที่ คิรนรร (Girnar) ของวาสิษฐีบุตร (Vasisthiputra) ที่กันเหริ (Kanheri) ซึ่งมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 7-8 ศาสตราจารย์ ฟิลลิโอซาต์ อธิบายว่า แม้จะจารึกในภาษาสันสกฤต แต่ต้นเค้าเดิมคงมาจากประเพณีทมิฬ และคงไม่ใช่จารึกในพุทธศาสนา แต่แสดงประเพณีตามแบบศาสนาฮินดู และสรุปว่า พระเจ้าศรีมาระอาจเป็นพระราชาในราชวงศ์ปาณฑยะทางประเทศอินเดียภาคใต้ ตามตำแหน่ง “มารัน” ในภาษาทมิฬ แต่พระองค์อาจไม่ได้เสด็จมาครองราชย์ในอาณาจักรทางแหลมอินโดจีน แต่ผู้ปกครองอาณาจักรอาจเป็นเพียงเชื้อสายของพระองค์.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระโพธิสัตว์เปล่งรัศมี

แนวคิดเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์เปล่งรัศมีไม่ได้มีแต่เฉพาะพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเท่านั้น แต่คัมภีร์ในพระพุทธศาสนาหลายเล่ม ระบุลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะเฉพาะของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เช่น คัมภีร์กรัณฑพยุหะ เป็นต้น โดยในการเปล่งรัศมีของพระองค์ ปรากฏเทวดา พระโพธิสัตว์ และเทพเจ้าองค์ต่าง ๆ อยู่ภายในรัศมีหรือประภามณฑลของพระโพธิสัตว์ ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าวมีผลต่อการสร้างงานศิลปกรรมหลายที่ เช่น ศิลปะเนปาล และศิลปะขอม.

Louis, Finot

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 17]

มีนักวิชาการศึกษาเครื่องดินเผาในศิลปะขอมไม่มากนัก ในบทความนี้แบ่งเครื่องดินเผาออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1) เครื่องดินเผาที่ใช้ประกอบสถาปัตยกรรม และ2) ภาชนะดินเผา โดยในกลุ่มเครื่องดินเผาที่ใช้ประกอบสถาปัตยกรรม ยังแบ่งออกเป็น 3 ยุคสมัย คือ สมัยก่อนเมืองพระนคร สมัยเมืองพระนคร และสมัยหลังเมืองพระนคร สำหรับกลุ่มภาชนะดินเผา แบ่งออกเป็น 2 สมัย ได้แก่ สมัยก่อนเมืองพระนคร และสมัยเมืองพระนคร.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 16]

ประติมากรรมสัมฤทธิ์สมัยหลังเมืองพระนครสามารถแบ่งได้หลายประเภท ได้แก่ ประติมากรรมขนาดเล็ก เครื่องใช้ในกิจพิธีและเครื่องใช้สอย เชิงเทียน กระดึง ภาชนะต่าง ๆ เครื่องม้า และอาวุธ ประติมากรรมเหล่านี้ส่วนหนึ่งยังคงรักษารูปแบบศิลปะสมัยเมืองพระนคร แต่บางส่วนแสดงถึงอิทธิพลจากภายนอก โดยเฉพาะศิลปะไทย นอกจากนี้ ยังมีศิลปกรรมแขนงอื่น ๆ ของศิลปะเขมรทั้งในสมัยก่อนเมืองพระนคร สมัยเมืองพระนคร และสมัยหลังเมืองพระนคร ที่น่าศึกษา ได้แก่ เครื่องเหล็ก เครื่องทองและเงิน (ในบทความใช้คำว่า “เครื่องเพชรพลอย) โดยในกลุ่มหลังนี้ ประกอบด้วย เครื่องเพชรพลอย แม่พิมพ์เครื่องประดับ ที่ประทับตรา และเงินตรา.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 14]

บทความกล่าวถึงวัตถุที่หล่อด้วยโลหะในศิลปะขอม โดยเฉพาะที่หล่อด้วยสัมฤทธิ์ทั้งสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร ทั้งประติมากรรมขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทั้งประติมากรรมในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงวัตถุสัมฤทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม เช่นสังข์ วัชระ ฯลฯ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงฐานและแม่พิมพ์.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 13]

บทความกล่าวถึงพัฒนาการของรูปสัตว์ในศิลปะขอม อันได้แก่ สิงห์ หงส์ ม้า ลิง เต่า มกร คชสีห์ มังกร ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงลายพันธุ์พฤกษา ทั้งในศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 2]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร 2 สมัยแรกคือศิลปะพนมดาและสมโบร์ไพรกุก มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและประติมากรรมบนทับหลังในประเทศกัมพูชาและเวียดนามตอนใต้ โดยศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ที่พักคนเดินทางของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

จารึกบทที่ 122 ถึง 126 ของปราสาทพระขรรค์ ประเทศกัมพูชา กล่าวถึงที่พักคนเดินทาง 121 แห่ง ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างตามทางเดินที่มีอยู่ในราชอาณาจักรของพระองค์ ที่พักคนเดินทางเหล่านี้สร้างด้วยศิลา ซึ่งมีไฟตรงกับอาคารในจารึกกล่าวไว้ว่ามี 57 แห่ง บนทางระหว่างเมืองพระนคร (อังกอร์) กับราชธานีของประเทศจัมปามี 17 แห่งจากเมืองพระนครไปยังเมืองพิมาย และมี 44 แห่งบนทาง ซึ่งมีเมืองต่างๆ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกัน นายเดอลาจองกีแยร์ จัดไว้ว่าเป็นโบราณสถานแบบ “ปราสาททัพเจย” แต่ นายฟีโนต์ เรียกว่า “ธรรมศาลา” ศ.ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ได้เพิ่มเติมไว้ในบทความว่า ที่พักคนเดินทางเท่าที่ค้นพบในประเทศไทยมี 7 แห่ง ในจำนวนทั้งหมด 9 แห่ง ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ พบ 1 แห่ง คือ ปราสาทตาเมือน จังหวัดบุรีรัมย์ พบ 5 แห่ง คือ ปราสาททมอ ปราสาทบ้านบุ ปราสาทโคกปราสาท ปราสาทหนองปล่อง และปราสาทเทพสถิตย์ ส่วนที่จังหวัดนครราชสีมา พบ 1 แห่ง คือ ปราสาทห้วยแคน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ไปประเทศเวียดนาม

ผู้เขียนได้รับเชิญให้ไปแสดงปาฐกถาและศึกษาโบราณวัตถุสถานในประเทศเวียดนาม ตั้งแต่วันที่ 17-30 กันยายน 2525 ซึ่งได้แสดงปาฐกถาเป็นภาษาฝรั่งเศสที่สถาบันโบราณคดีครั้งแรกเรื่อง การค้นคว้าทางโบราณคดีปัจจุบันในประเทศไทย กล่าวถึงโบราณวัตถุสำริดซึ่งค้นพบใหม่ที่บ้านดอนตาล จังหวัดนครพนม ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมบ้านเชียง ปราสาทขอมที่ค้นพบใหม่ ณ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี และโบราณคดีใต้น้ำในประเทศไทยโดยเฉพาะการงมเครื่องถ้วยชามจากเรือที่สัตหีบ ครั้งที่ 2 เรื่องศิลปะสมัยคลาสสิคในประเทศไทย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-24 ครั้งที่ 3 แสดงปาฐกถาที่สถาบันการศึกษาเกี่ยวกับภาคเอเชียอาคเนย์เกี่ยวกับการตั้งรัฐไทยสมัยโบราณในประเทศไทย ครั้งที่ 4 แสดงปาฐกถาที่สถาบันสังคมศาสตร์ เรื่องการค้นคว้าทางโบราณคดีปัจจุบันในประเทศไทย นอกจากนั้นยังได้ไปชมสถานที่ต่าง ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์เมืองดานัง ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะจามที่ดีที่สุด ปราสาทโพนคร หมู่บ้านจาม ปราสาทโพกลวงการาย และพิพิธภัณฑ์ Blanchard de la Brosse.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล