ปราสาทพระขรรค์ (กัมพูชา)

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ปราสาทพระขรรค์ (กัมพูชา)

Equivalent terms

ปราสาทพระขรรค์ (กัมพูชา)

Associated terms

ปราสาทพระขรรค์ (กัมพูชา)

3 Archival description results for ปราสาทพระขรรค์ (กัมพูชา)

3 results directly related Exclude narrower terms

อาณาจักรขอม

บทความนี้มาจากหนังสือเรื่องประเทศที่ได้รับอิทธิพลอินเดียในแหลมอินโดจีน และหมู่เกาะอินโดนีเซีย ของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เริ่มเกี่ยวกับอาณาจักรขอมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เป็นกษัตริย์พระองค์แรก พระองค์ได้เสด็จกลับมาจากชวา เพื่อมาครองราชย์ที่เมืองอินทรปุระ และย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองหริหราลัย ศิลปะขอมสมัยกุเลนในรัชกาลของพระองค์เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างศิลปะขอมสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร และศิลปะสมัยเมืองพระนคร ได้รับอิทธิพลทั้งจากศิลปะจามและศิลปะชวา ลำดับกษัตริย์ขอมที่ครองราชย์ต่อมา คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 3 พระเจ้าอินทรวรมัน พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 พระเจ้าอีศานวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 พระเจ้าราเชนทรวรมัน พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ซึ่งรัชกาลของพระเจ้าอินทรวรมันจนถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 มีระยะเวลากว่า 100 ปี และอาจนับได้ว่าเป็นระยะที่วัฒนธรรมขอมเจริญสูงสุดอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาเป็นรัชกาลของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1 พระเจ้าชัยวีรวรมัน พระเจ้าสุริยวรมันที 1 พระเจ้าอุทัยทิตย วรมันที่ 2 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 พระเจ้าศรีนทรวรมัน และพระเจ้าชัยวรมาธิปรเมศวร ซึ่งเป็นพระราชาองค์สุดท้ายที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกของขอมที่ปราสาทนครวัด.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

เนื้อบทความเป็นการย่อใจความจากเรื่องจารึกปราสาทพระขรรค์ในบริเวณเมืองพระนคร (La stele du Prah Khan d’Ankor) กล่าวถึง นาย ม. แกลซ (M. Glaize) ได้ค้นพบจารึกที่ปราสาทพระขรรค์ในบริเวณเมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 เป็นศิลาจารึกแท่งสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีลวดลายบัวอยู่บนฐาน และมีลายดอกบัวสลักอย่างคร่าว ๆ บนยอด สูง 1.85 เมตร กว้างด้านละ 58 เซนติเมตร มีจารึกอยู่ 72 บรรทัด เป็นภาษาสันสกฤต มีทั้งสิ้น 179 บท แต่งเป็นมาตราฉันท์ต่าง ๆ กัน 7 มาตรา ข้อความส่วนใหญ่กล่าวถึงเรื่องราวต่างๆ ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทั้งนโยบายการเมือง พระราชกรณียกิจ การสร้างเมืองชัยศรี การสงคราม การสร้างพระพุทธรูปและประติมากรรมอื่น ๆ การเก็บภาษี การก่อสร้างศาสนสถาน การบำเพ็ญกุศล เฉพาะอย่างยิ่งจารึกตั้งแต่บทที่ 112-116 เกี่ยวข้องกับการแผ่อานุภาพของพระองค์ ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นภาคกลางของประเทศไทยหรือไม่ ในจารึกบทสุดท้ายกล่าวว่า จารึกทั้งหมดนี้ผู้ประพันธ์คือ เจ้าชายวีรกุมาร โอรสแห่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และพระนางราเชนทรเทวี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในต้นพุทธศตวรรษที่ 18 การศึกษาภาษาสันสกฤตในราชสำนัก ณ เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา อยู่ในขั้นสูงมาก.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ที่พักคนเดินทางของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

จารึกบทที่ 122 ถึง 126 ของปราสาทพระขรรค์ ประเทศกัมพูชา กล่าวถึงที่พักคนเดินทาง 121 แห่ง ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างตามทางเดินที่มีอยู่ในราชอาณาจักรของพระองค์ ที่พักคนเดินทางเหล่านี้สร้างด้วยศิลา ซึ่งมีไฟตรงกับอาคารในจารึกกล่าวไว้ว่ามี 57 แห่ง บนทางระหว่างเมืองพระนคร (อังกอร์) กับราชธานีของประเทศจัมปามี 17 แห่งจากเมืองพระนครไปยังเมืองพิมาย และมี 44 แห่งบนทาง ซึ่งมีเมืองต่างๆ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกัน นายเดอลาจองกีแยร์ จัดไว้ว่าเป็นโบราณสถานแบบ “ปราสาททัพเจย” แต่ นายฟีโนต์ เรียกว่า “ธรรมศาลา” ศ.ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ได้เพิ่มเติมไว้ในบทความว่า ที่พักคนเดินทางเท่าที่ค้นพบในประเทศไทยมี 7 แห่ง ในจำนวนทั้งหมด 9 แห่ง ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ พบ 1 แห่ง คือ ปราสาทตาเมือน จังหวัดบุรีรัมย์ พบ 5 แห่ง คือ ปราสาททมอ ปราสาทบ้านบุ ปราสาทโคกปราสาท ปราสาทหนองปล่อง และปราสาทเทพสถิตย์ ส่วนที่จังหวัดนครราชสีมา พบ 1 แห่ง คือ ปราสาทห้วยแคน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล